ประวัติความเป็นมา

                      ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ตัวเมืองมีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย term paper help research topics for high school ได้แก่ แม่น้ำมูล ลำน้ำจักราช และลำน้ำเค็ม เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือ ปราสาทหินพิมาย

                     เมืองพิมายเป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่มีประวัติการตั้งชุมชนสืบเนื่องกันมายาวนานนับพันปี ในเมืองแห่งนี้จึงมีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก เมืองพิมายสร้างขึ้นตามแบบของอาณาจักรเขมรโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบ ซุ้มประตูทางเข้า-ออกเมืองมีขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงทั้ง 4 ด้าน ตรงกลางเมืองเป็นที่ตั้งปราสาทหินพิมายซึ่งเป็นพุทธสถานในศาสนาพุทธลัทธิมหายานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสร้างด้วยหินทรายสีขาวตามแบบศิลปะเขมรราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 นอกจากนี้แล้วบริเวณเมืองยังมีโบราณสถานน้อยใหญ่ที่สำคัญอีกหลายแห่งคือ กุฎิฤาษี อันเป็นโรงพยาบาลโบราณสร้างตามแบบศิลปะเขมรราวศตวรรษที่ 18 ท่านางสระผม ซึ่งเป็นท่าน้ำโบราณที่นางอรพิมเคยอาบน้ำ สระผม เมรุพรหมทัต เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่ประกอบพิธีถวายเพลิงท้าวพรหมทัต ตลอดจนท่าน้ำโบราณอีกหลายแห่ง และก่อนการตั้งเมืองพิมายยังพบว่าบริเวณเมืองแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายมีอายุราว 2,200 ปีมาแล้ว
เมืองพิมายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี กรมศิลปากรได้ยกฐานะเมืองโบราณแห่งนี้เป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการให้อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ขึ้นเป็นมรดกโลก นอกจากนี้แล้วภายในเมืองพิมายยังมี พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และไทรงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย

                  องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง term paper help research topics for high school อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานที่สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 บัญญัติให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล และให้โอนบรรดางบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ และเจ้าหน้าที่ของสถาตำบลไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล ปี พ.ศ.2549 ปรับขนาดจากองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง โดยมีประชากรทั้งหมด 15,775 คน